วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วัฒนธรรมเเละภาษา


ภาษากับวัฒนธรรม

  ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมและภาษา

 วัฒนธรรม (culture)   หมายถึง   สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นอันได้แก่   ประเพณี   ความคิดความเชื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม  และถ่ายทอดสืบเนื่องต่อกันมาอย่างมีแบบแผนและเป็นมรดกของสังคมในที่สุด

ลักษณะของวัฒนธรรม

   วัฒนธรรมมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

   ๑. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้   รับและถ่ายทอดสิ่งต่างๆ จากมนุษย์ด้วยกันจากรุ่นต่อรุ่น

    ๒. วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม   ภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดวัฒนธรรม   ถ้าไม่มีภาษาจะไม่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นต่อไปได้

    ๓. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์   เราสามารถจำแนกวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งออกจากอีกสังคมหนึ่งได้   ทั้งนี้เพราะแต่ละสังคมมนุษย์ย่อมมีวิถีชีวิต   การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป   จนมีลักษณะเฉพาะตน

    ๔. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่   ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ   ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในสังคมที่คิดจะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญงอกงามขึ้น   เหมาะสมกับสภาพชีวิตและแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในสมัยของตน

ประเภทของวัฒนธรรม

   ๑. วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม   เช่น   ที่อยู่อาศัย   เครื่องมือเครื่องใช้  สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ภาษา  ยานพาหนะต่างๆ  เป็นต้น

   ๒. วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม   เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมีความเจริญงอกงาม  ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต   ได้แก่   การปฏิบัติทางศาสนา   ขนบธรรมเนียม  ประเพณี

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

   ๑. ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย

   ๒. ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ   ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา)  และวรรณคดีลายลักษณ์

   ๓. ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

   ๔. ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา

   ๕. ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

   ๖. ภาษาสะท้อนให้เห็นลักษณะและวิถีชีวิตของชนในชาตินั้นๆ

   ๗. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทำให้คนในชาตินึกถึงความเป็นชาติเดียวกัน   เป็นพวกเดียวกัน

ความหลากหลายของวัฒนธรรม

   วัฒนธรรมของชาติต่างๆ แตกต่างกันไปด้วยเหตุต่างๆ ดังนี้

   ๑. สภาพภูมิอากาศ

   ๒. ที่ตั้ง

   ๓. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น

   ๔. กลุ่มชนแวดล้อม

   ๕. นักปราชญ์หรือผู้นำของกลุ่มชน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

   เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม   คือ   แบบแผนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น  มีเอกลักษณ์   มีความโดดเด่นเฉพาะตัว

   เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย   มีดังนี้

๑.     ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา

๒.   ความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

๓.    ความรักสงบ

๔.    ความพอใจในการประนีประนอม

๕.    การไม่แบ่งชั้นวรรณะ



ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจากภาษา

๑.     ภาษาไทยมีระเบียบการใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล

๒.   ภาษาไทยมีวิธีการใช้ถ้อยคำและข้อความที่เปลี่ยนแปรไปให้เหมาะสมตามความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   มีการใช้คำสรรพนามทั้งที่แทนตัวกับคู่สนทนาและผู้ที่กล่าวถึง

๓.    ภาษาไทยมีศัพท์แสดงความละเอียดในการกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัว   และมีศัพท์เฉพาะในเรื่องต่างๆ จำนวนมาก

๔.    ภาษาไทยมีการสร้างคำขึ้นจากภาษาต่างๆ

๕.    ภาษาไทยมีถ้อยคำสำนวนแสดงการเปรียบเทียบจำนวนมาก   แสดงให้เห็นความประณีตละเอียดอ่อนในการใช้ภาษา   ความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน

วรรณคดีกับวัฒนธรรม

   วรรณคดีถือเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอย่างหนึ่ง   ที่ถือเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาโดยตรง   วรรณคดีถือเป็นกระจกแสดงวิถีชีวิตของหมู่ชนที่สร้างสรรค์วรรณคดีขึ้น  เช่น   วรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน   เป็นวรรณคดีที่แสดงประเพณีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตายของสามัญชน   เรื่องอิเหนา   แสดงประเพณีไทยในราชสำนัก  เป็นต้น

ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม

   ภาษาถิ่นในถิ่นต่างๆ ของไทยมีผู้พูดเป็นจำนวนหลายล้านคน   ภาษาถิ่นมีคุณค่ามากในเรื่องการสืบประวัติของคำ   ทำให้ทราบถึงที่มาและความหมายของคำต่างๆ ภาษาของชนกลุ่มต่างๆ ที่ใช้ในถิ่นและภูมิภาคอื่นๆ ของไทย   แม้ไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกับภาษาไทย   การรักษาไว้และศึกษาให้ทราบถึงการรับคำไทยเข้าไปใช้ในภาษาเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด   เป็นคำสมัยไหน   มีความหมายอย่างไร   ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการสื่อสารกับคนในชาติ   ซึ่งยังให้เกิดประโยชน์ทางสังคม   เศรษฐกิจและการเมือง



ศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม

    สังคม        มีความหมายเป็นนามธรรม   หมายถึง   ความนึกคิดรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่งๆ  สังคม   เป็นกลุ่มคนที่มีธรรมเนียมและประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน

 สถาบัน     หมายถึง   แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นและปฏิบัติสืบต่อกันมา   การที่สร้างแบบอย่างพฤติกรรมนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะของตน

 ประเพณี   หมายถึง   ความประพฤติที่ชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่      สถานที่แห่งหนึ่ง   ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน   และมีความคิดความเชื่อร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม   สมควรสืบทอดต่อไปให้อนุชนรุ่นหลัง

 ค่านิยม     หมายถึง   ความคิดของบุคคลแต่ละบุคคลหรือของแต่ละกลุ่มว่าสิ่งใด   การกระทำใดมีคุณค่าหรือมีความสำคัญและนำมาถือปฏิบัติ   ค่านิยมสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา







ภาษากับวัฒนธรรม


ภาษากับวัฒนธรรม

  ความเกี่ยวข้องระหว่างวัฒนธรรมและภาษา

 วัฒนธรรม (culture)   หมายถึง   สิ่งต่างๆ ที่มนุษย์สร้างขึ้นอันได้แก่   ประเพณี   ความคิดความเชื่อต่างๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นพฤติกรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นสมาชิกของสังคม  และถ่ายทอดสืบเนื่องต่อกันมาอย่างมีแบบแผนและเป็นมรดกของสังคมในที่สุด

ลักษณะของวัฒนธรรม

   วัฒนธรรมมีลักษณะต่างๆ ดังนี้

   ๑. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่เกิดจากการเรียนรู้   รับและถ่ายทอดสิ่งต่างๆ จากมนุษย์ด้วยกันจากรุ่นต่อรุ่น

    ๒. วัฒนธรรมถือเป็นมรดกทางสังคม   ภาษาเป็นสื่อกลางในการถ่ายทอดวัฒนธรรม   ถ้าไม่มีภาษาจะไม่สามารถถ่ายทอดวัฒนธรรมหรือพัฒนาวัฒนธรรมให้เจริญยิ่งๆ ขึ้นต่อไปได้

    ๓. วัฒนธรรมเป็นวิถีชีวิตของมนุษย์   เราสามารถจำแนกวัฒนธรรมของสังคมหนึ่งออกจากอีกสังคมหนึ่งได้   ทั้งนี้เพราะแต่ละสังคมมนุษย์ย่อมมีวิถีชีวิต   การดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไป   จนมีลักษณะเฉพาะตน

    ๔. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ไม่คงที่   ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ   ทั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของคนในสังคมที่คิดจะเปลี่ยนแปลงและปรับปรุงวัฒนธรรมของตนให้เจริญงอกงามขึ้น   เหมาะสมกับสภาพชีวิตและแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในสมัยของตน

ประเภทของวัฒนธรรม

   ๑. วัฒนธรรมที่เป็นรูปธรรม   เช่น   ที่อยู่อาศัย   เครื่องมือเครื่องใช้  สิ่งก่อสร้างต่างๆ  ภาษา  ยานพาหนะต่างๆ  เป็นต้น

   ๒. วัฒนธรรมที่เป็นนามธรรม   เป็นสิ่งที่ทำให้จิตใจมีความเจริญงอกงาม  ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิต   ได้แก่   การปฏิบัติทางศาสนา   ขนบธรรมเนียม  ประเพณี

ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับวัฒนธรรม

   ๑. ภาษาเป็นสิ่งที่ถ่ายทอดวัฒนธรรมให้ดำรงอยู่ในสังคมต่อไปมิให้สูญหาย

   ๒. ภาษาสะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตของชนในชาติ   ซึ่งบันทึกไว้ในวรรณคดีมุขปาฐะ (เล่าต่อๆ กันมา)  และวรรณคดีลายลักษณ์

   ๓. ภาษาแสดงให้เห็นพัฒนาการทางด้านวัฒนธรรมของแต่ละสังคม

   ๔. ภาษาเป็นเครื่องแสดงระดับวัฒนธรรมของผู้ใช้ภาษา

   ๕. ภาษาถือเป็นวัฒนธรรมประจำชาติ

   ๖. ภาษาสะท้อนให้เห็นลักษณะและวิถีชีวิตของชนในชาตินั้นๆ

   ๗. ภาษาเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ทำให้คนในชาตินึกถึงความเป็นชาติเดียวกัน   เป็นพวกเดียวกัน

ความหลากหลายของวัฒนธรรม

   วัฒนธรรมของชาติต่างๆ แตกต่างกันไปด้วยเหตุต่างๆ ดังนี้

   ๑. สภาพภูมิอากาศ

   ๒. ที่ตั้ง

   ๓. ความอุดมสมบูรณ์หรือความแร้นแค้น

   ๔. กลุ่มชนแวดล้อม

   ๕. นักปราชญ์หรือผู้นำของกลุ่มชน

เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม

   เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม   คือ   แบบแผนการใช้ชีวิตของมนุษย์ในวัฒนธรรมหนึ่งที่แสดงให้เห็นว่าแตกต่างจากวัฒนธรรมอื่น  มีเอกลักษณ์   มีความโดดเด่นเฉพาะตัว

   เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของไทย   มีดังนี้

๑.     ความไม่กีดกันคนต่างชาติต่างภาษา

๒.   ความมีเสรีภาพในการนับถือศาสนา

๓.    ความรักสงบ

๔.    ความพอใจในการประนีประนอม

๕.    การไม่แบ่งชั้นวรรณะ



ภาพสะท้อนวัฒนธรรมจากภาษา

๑.     ภาษาไทยมีระเบียบการใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคล

๒.   ภาษาไทยมีวิธีการใช้ถ้อยคำและข้อความที่เปลี่ยนแปรไปให้เหมาะสมตามความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล   มีการใช้คำสรรพนามทั้งที่แทนตัวกับคู่สนทนาและผู้ที่กล่าวถึง

๓.    ภาษาไทยมีศัพท์แสดงความละเอียดในการกล่าวถึงเรื่องใกล้ตัว   และมีศัพท์เฉพาะในเรื่องต่างๆ จำนวนมาก

๔.    ภาษาไทยมีการสร้างคำขึ้นจากภาษาต่างๆ

๕.    ภาษาไทยมีถ้อยคำสำนวนแสดงการเปรียบเทียบจำนวนมาก   แสดงให้เห็นความประณีตละเอียดอ่อนในการใช้ภาษา   ความเป็นคนเจ้าบทเจ้ากลอน

วรรณคดีกับวัฒนธรรม

   วรรณคดีถือเป็นวัฒนธรรมทางภาษาอย่างหนึ่ง   ที่ถือเป็นเครื่องสืบทอดวัฒนธรรมทางภาษาโดยตรง   วรรณคดีถือเป็นกระจกแสดงวิถีชีวิตของหมู่ชนที่สร้างสรรค์วรรณคดีขึ้น  เช่น   วรรณคดีไทยเรื่องขุนช้างขุนแผน   เป็นวรรณคดีที่แสดงประเพณีต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตายของสามัญชน   เรื่องอิเหนา   แสดงประเพณีไทยในราชสำนัก  เป็นต้น

ภาษาถิ่นกับวัฒนธรรม

   ภาษาถิ่นในถิ่นต่างๆ ของไทยมีผู้พูดเป็นจำนวนหลายล้านคน   ภาษาถิ่นมีคุณค่ามากในเรื่องการสืบประวัติของคำ   ทำให้ทราบถึงที่มาและความหมายของคำต่างๆ ภาษาของชนกลุ่มต่างๆ ที่ใช้ในถิ่นและภูมิภาคอื่นๆ ของไทย   แม้ไม่ใช่ภาษาตระกูลเดียวกับภาษาไทย   การรักษาไว้และศึกษาให้ทราบถึงการรับคำไทยเข้าไปใช้ในภาษาเหล่านั้นมากน้อยเพียงใด   เป็นคำสมัยไหน   มีความหมายอย่างไร   ทั้งนี้เพื่อเป็นประโยชน์ในการสื่อสารกับคนในชาติ   ซึ่งยังให้เกิดประโยชน์ทางสังคม   เศรษฐกิจและการเมือง



ศัพท์เกี่ยวกับวัฒนธรรม

    สังคม        มีความหมายเป็นนามธรรม   หมายถึง   ความนึกคิดรวมกับค่านิยมของชุมชนหนึ่งๆ  สังคม   เป็นกลุ่มคนที่มีธรรมเนียมและประเพณีที่ยึดถือและปฏิบัติร่วมกัน

 สถาบัน     หมายถึง   แบบอย่างพฤติกรรมที่ตั้งขึ้นและปฏิบัติสืบต่อกันมา   การที่สร้างแบบอย่างพฤติกรรมนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่หมู่คณะของตน

 ประเพณี   หมายถึง   ความประพฤติที่ชนกลุ่มหนึ่งที่อยู่      สถานที่แห่งหนึ่ง   ปฏิบัติสืบต่อกันมายาวนาน   และมีความคิดความเชื่อร่วมกันว่าเป็นสิ่งที่ดีงาม   สมควรสืบทอดต่อไปให้อนุชนรุ่นหลัง

 ค่านิยม     หมายถึง   ความคิดของบุคคลแต่ละบุคคลหรือของแต่ละกลุ่มว่าสิ่งใด   การกระทำใดมีคุณค่าหรือมีความสำคัญและนำมาถือปฏิบัติ   ค่านิยมสามารถเปลี่ยนแปลงไปได้ตามกาลเวลา