วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

รสแห่งกาพย์กลอน



รสแห่งกาพย์กลอน
รสแห่งกาพย์กลอนของไทยมี    รส
.เสาวรจนี (บทชมโฉม)  คือการเล่าชมความงามของตัวละครซึ่งอาจเป็นทั้งมนุษย์หรืออมนุษย์    สัตว์  ปราสาทราชวัง  บ้านเมือง  เช่น

           เหลือบเห็นกวางขำดำขลับ                   งามสรรพสะพรั่งดังเลขา
งามเขาเห็นเป็นกิ่งกาญจนา                             งามตานิลรัตน์รูจี
                                                                              (พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว)

. นารีปราโมทย์ (บทเกี้ยว  โอ้โลม)  คือการกล่าวข้อความแสดงความรัก  ทั้งที่เป็นการพบกันในตอนแรกๆ และในตอนที่โอ้โลมปฏิโลมก่อนที่จะถึงบทสังวาส  เช่น

              ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร                            ไม่สิ้นสุดความรักสมัครสมาน
แม้เกิดในใต้ฟ้าสุธาธาร                                                 ขอพบพานพิศวาสไม่คลาดคลา
แม้นเนื้อเย็นเป็นห้วงมหรรณพ                                      พี่ขอพบศรีสวัสดิ์เป็นมัจฉา
แม้นเป็นบัวตัวพี่เป็นภุมรา                                             เชยผกาโกสุมปทุมทอง
เจ้าเป็นถ้ำอำไพรขอให้พี่                                                เป็นราชสีห์สมสู่เป็นคู่สอง
จะติดตามทรามสงวนนวลละออง                                  เป็นคู่ครองพิศวาสทุกชาติไป
                                                                                                                               (สุนทรภู่)
.พิโรธวาทัง (บทตัดพ้อ)  คือการกล่าวข้อความที่แสดงความไม่พอใจ  ไปจนถึงการโกรธ  ประชดประชัน  ดุว่าอย่างรุนแรง   เช่น

                  จะเจ็บจำไปถึงปรโลก                         ฤารอยโศกรู้ร้างจางหาย
จะเกิดกี่ฟ้ามาตรมตาย                                           อย่าหมายว่าจะให้หัวใจ
                                                                                                        (อังคาร  กัลยาณพงศ์)

.สัลปังคพิไสย (บทโศก)  คือการกล่าวข้อความแสดงอารมณ์โศกเศร้า  อาลัย  เช่นเรื่องขุนช้างขุนแผน  ตอนขุนแผนพานางวันทองหนี

                      ลำดวนเอ๋ยจะด่วนไปก่อนแล้ว                     เกดแก้วพิกุลยี่สุ่นสี
จะโรยร้างห่างสิ้นกลิ่นมาลี                                                จำปีเอ๋ยกี่ปีจะมาพบ
                                                                                  (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น